เข่าเสื่อม

นวัตกรรมใหม่รักษาข้อเข่าเสื่อม ปลูกกระดูกอ่อนจากสเต็มเซลล์เลือดผ่านกล้อง

ปัจจุบันกลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีอายุน้อยลงและมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก ล่าสุดได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ขึ้นมารองรับ นั่นคือ การปลูกถ่ายกระดูกอ่อนจากสเต็มเซลล์เลือดโดยการผ่าตัดผ่านกล้องวีดิทัศน์ ที่ถือว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างมหาศาล เพราะนอกจากจะช่วยลดความเจ็บปวดแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นตามธรรมชาติ    โดย พ.ต.อ.นพ.ธนา ธุระเจน นายแพทย์ สัญญาบัตร 5 (สบ 5) กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ เปิดเผยถึงการพัฒนานวัตกรรมของเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ (Stem Cell ) จากเลือดเพื่อการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผ่านกล้องวีดิทัศน์ว่า โรงพยาบาลตำรวจได้ทำโครงการวิจัยพัฒนาการรักษาโรคกระดูกอ่อนของข้อเข่าที่มีการบาดเจ็บและข้อเสื่อมระยะต้นมาตั้งแต่ปี 2554 โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ มูลนิธิเวชดุสิต Thai Stem Life Co.Ltd TRB chermedica Co.Ltd และ พล.ต.ท.นพ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ เนื่องจากก่อนหน้านี้การรักษามีค่าใช้จ่ายสูงและมีข้อจำกัดหลายประการ จึงได้คิดค้นโดยการ ใช้เลือดของผู้ป่วยเอง โดยไม่ต้องเจาะจากไขกระดูกเชิงกรานที่สร้างความเจ็บปวด อีกทั้งยังได้จำนวนที่ไม่เพียงพอ และสามารถนำมาปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผ่านกล้องวีดิทัศน์ได้ในครั้งเดียวเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ปกติแล้วกระดูกอ่อนของเรามีปัญหา คือเวลาเสื่อมแล้วต้องรอวันเสียอย่างเดียว ส่วนมากพบในนักกีฬาและผู้ที่นั่งงอเข่านาน ๆ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีการพยายามปลูกกระดูกอ่อนเพื่อนำมาทดแทน […]

โรคข้อเข่าเสื่อม

ประเทศไทย ซึ่งกำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนกว่า 7 ล้านคนและการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าก็ทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่โรคที่ยังพบมากในผู้สูงอายุก็คือโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งการผ่าตัดในผู้สูงอายุแพทย์ยอมรับมีความเสี่ยง แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าก็ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก และการรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัด ทีมแพทย์ต้องบล็อคหลังหรือวางยาสลบขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย แต่หลังจากมีข่าวถึงภาวะแทรกซ้อนลิ่มเลือดแข็งตัวที่ทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุวิตกกังวล. ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ รพ.บำรุงราษฎร์ บอกว่าภาวะแทรกซ้อนเป็นสิ่งที่แพทย์ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องทเกิดขึ้นได้ด้วยด้วยปัจจัยหลายอย่าง  ทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยโดยแพทย์เพิ่งนำมาใช้มาต้นเดือนเมษายน โดยความร่วมมือของสถาบันโรคกระดูกของสหรัฐอเมริกา คือ การใช้เทคโนโลยีแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อและสะโพกเทียมโดยแขนกล จะตัดเฉพาะส่วนกระดูกที่เสื่อมออกผ่านจากภาพ 3 มิติ ทำให้รักษาส่วนกระดูกดีไว้ได้ ผู้ป่วยจะพักฟื้นที่ รพ.เพียง 2 วันและเดินได้ด้วยเครื่องช่วยพยุงภายใน 24 ชั่วโมง  การรักษาด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายเกินหลักแสน วิธีป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรแพทย์แนะนำให้ลดน้ำหนัก งดการสูบบุหรี่ ลดการสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน หรือ ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดจะใช้สุขาแบบนั่งยองมากกว่าชักโครก เพิ่มข้อเข่าเสื่อมไปอีก  สถิติของโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่ามีอายุลดลงตั้งแต่อายุ 30 ปีก็มีมารักษา ส่วนอายุ 45 ปี ขึ้นไปจะพบมากขึ้น โดยคนไทยมีผู้สูงอายุอยู่ที่กว่า 7.8 ล้านคน พบว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 2.6 ล้านคน มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม