ยากลูโคซามีน

เตือนกินกลูโคซามีน ระวังตา(อาจ)บอด โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

“กลูโคซามีน” เป็นทั้ง “ยา” และ “อาหารเสริม” สำหรับประชาชนในประเทศไทย โดยใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเสื่อม หรือมีแนวโน้มจะเป็นในอีกไม่ช้า  ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้ว่าไม่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างข้อหรือกระดูกอ่อนใดๆ ทั้งสิ้น แต่มีผู้ป่วยบางรายใช้แล้วรู้สึกดี โดยไม่มีใครทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์แน่นอนในการบรรเทาอาการปวด มีรายงานทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นพบว่า กลูโคซามีนไปกระตุ้นสารต้านการอักเสบ นัยว่าทำให้ปวดน้อยลง แต่เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์จริงๆ มีค่อนข้างน้อยมาก คำแนะนำของสมาคมโรคข้อของสหรัฐอเมริกาจึงไม่แนะนำให้ใช้ แต่ถ้าผู้ป่วยยืนยันจะใช้ก็ควรให้ลองดูประมาณ 1-2 เดือน หากไม่เห็นผลก็ให้เลิกไป ในประเทศไทยเพียงกลูโคซามีนตัวเดียว ก่อเหตุประหนึ่งเป็น “ยาวิเศษ” ที่คนไข้ต้องได้รับและควรต้องเบิกได้ โดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหาร ไต ไม่ก่อให้เกิดเส้นเลือดในหัวใจหรือในสมองตีบตันแบบยาแก้ปวดทั่วไป (ชนิดไม่ว่าถูกหรือแพง) เช่น Diclofenac (Voltaren) Ibuprofen (Brufen) และตระกูล Coxibs ทั้งหลาย เช่น Celecoxib (Celebrex) Etoricoxib (Areoxia) และเมื่อกินกลูโคซามีน ถึงไม่ได้ผลก็ไม่เป็นไร อย่างไรก็อุ่นใจเพราะได้กินยา เป็นกำลังใจ หรือที่เรียกว่า Placebo Effect จนมาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 […]

เปิดผลวิเคราะห์”ยาข้อเสื่อม” มีคุณภาพแต่ต้องเลือก

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการตรวจสอบคุณภาพ "ยากลูโคซามีน" หรือยารักษาอาการข้อเสื่อม ทั้งรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่แนะนำผู้ป่วยข้อเสื่อมพิจารณาเลือกใช้ยี่ห้อและราคาตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยากลูโคซามีน ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่ามีจำนวน 131 ตำรับ จาก 44 บริษัท และมีหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2554 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงร่วมมือกับ อย.ดำเนินการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลูโคซามีนจากผู้ผลิตและโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพยาให้แก่ประชาชน จำนวน 90 ตัวอย่าง ทั้งประเภทยาเม็ด ยาแคปซูล และยาผงสำหรับละลายน้ำ โดยพบว่ายาเม็ดขนาดความแรง 500, 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อเม็ด จำนวน 8 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ทุกตัวอย่าง ยาแคปซูลขนาดความแรง 250 และ […]