ปวดเข่า

ตอนที่ 84 หายเจ็บเข่า

ปีนี้เจ็บเข่า ข้อเท้า ซ้ายขวา สลับที่ละจุด น่าจะเนื่องจาก 1.    น้ำหนักตัว 76 กก.จาก สัมมนา ที่ร่างกายคนเราออกแบบรับน้ำหนักไว้ที่อายุ 20 ปี เหมาะสมน่าจะ  60 กก. 2.    อายุจะ 40 ปีแล้วจาก สัมมนา เมื่ออายุ เกิน 40 ปี ร่างกายจะเสื่อมสภาพปีละ 10 % 3.    การออกกำลังส่วนใหญ่เน้นในท่ายืนเป็นส่วนใหญ่ ติดต่อกันกว่า 5 ปี 4. เดินทางไปไหนใช้รถประจำทาง เดินมากติดต่อกันนาน  5.นั่งทำงานกับโต๊ะติดต่อกันนาน 6.บ้านนอนชั้นสอง ต้องขึ้นบันไดตลอด 7.ไม่ได้ใช้เตียงจังหวะลุกจะยันเข่ามาก 8.แนวของกระดูกขา เข่า และท่าไม่หันไปแนวเดียวกัน 9.กระดูกสันหลังส่วนล่างที่ยึดติดทำให้มีการผิดปรกติของกล้ามเนื้อ โดยรวมกันทำให้กล้ามเนื้อช่างขาแข็งเกร็งมาก ไม่ยืดหยุ่น ทำให้ก่อให้เกิดอาการปวดได้ ลองบริหารร่างกายเน้นท่านั่งและนอนมากขึ้น บริหารร่างกายในท่ายืนน้อยลง โดย 12/10/2552  6.20 เช้าวอร์มเบาๆท่านั่งเก้าอี้ทำเหมือนเดิม ท่านั่งกับพื้นทำเหมือนเดิม ท่านั่งกับพื้นไม่พิง โดยรายละเอียดได้แก่ นวดขาตามเส้นเบาๆ นวดเท้า ถูเท้า ตบเท้า […]

อยากให้เรามีแต่ข้อดี

ทัศนะดีๆ ของ “รศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช” ศัลยแพทย์มือหนึ่งด้านกระดูก ที่ปรารถนาให้ทุกคนมี “ข้อดี” จากความ “คิดดี” รักษาผู้ป่วยมาก็มาก จนได้รับคำยกย่องว่าเป็น ‘มือหนึ่ง’ ด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ แต่แท้จริงแล้ว รศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช มีดีกว่าเรื่องกระดูก เพราะเขาคือคุณหมอที่มี ‘ใจ’ แข็งแรงและงดงาม คนไข้ 1,000 ราย คือเป้าหมายที่คุณหมอกีรติตั้งไว้ว่าจะต้องรักษาให้ได้ แต่การรักษาโดยผ่าตัดไม่ใช่คำตอบสุดท้ายอันยั่งยืน ‘กระดูกและข้อ’ เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจมากกว่านั้น เขาจึงคลอดหนังสือ ‘อยากให้เรามีแต่ข้อดี’ เพื่อเสริมความเข้าใจเรื่อง ‘ข้อ’ สำหรับทุกคนในครอบครัว หนังสือเล่มนี้คุณหมอเขียนเอง ก่อนหน้านี้ทำหน้าที่ผ่าตัดเป็นส่วนมาก รู้สึกว่าก่อนที่จะผ่าตัด ถ้าทำให้คนไข้ไม่ต้องถูกผ่าตัด น่าจะเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ถูกที่สุด เพราะต่อให้ผ่าตัด คิดว่าผ่าแล้วจะหมดไป มันไม่ใช่ คนไข้ยิ่งเยอะขึ้นๆ ก็รู้สึกว่า “เอ๊ะ! การผ่าตัดไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก” คุณหมออยากให้คนไข้ได้ดูแลตัวเอง ป้องกันตัวเองก่อนที่จะถึงขั้นถูกผ่าตัด นี่คือสิ่งที่ทำให้เขาอยากจะมีหนังสือสักเล่มหนึ่ง ให้คนไข้ได้รู้ว่าทำอย่างไรเพื่อดูแลตัวเอง และลดอัตราเสี่ยงของความสึกหรอหรือโรคที่พวกเขาเป็น ได้รู้จักเสียก่อน รู้ว่าอยู่กับโรคนี้อย่างไรอย่างเป็นสุข เป็นปกตินี่เป็นความสุขแล้ว แต่จะทำอย่างไรให้พวกเขาเป็นปกติได้ มันจะเสื่อมก็จริง […]

นวัตกรรมใหม่รักษาข้อเข่าเสื่อม ปลูกกระดูกอ่อนจากสเต็มเซลล์เลือดผ่านกล้อง

ปัจจุบันกลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีอายุน้อยลงและมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก ล่าสุดได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ขึ้นมารองรับ นั่นคือ การปลูกถ่ายกระดูกอ่อนจากสเต็มเซลล์เลือดโดยการผ่าตัดผ่านกล้องวีดิทัศน์ ที่ถือว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างมหาศาล เพราะนอกจากจะช่วยลดความเจ็บปวดแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นตามธรรมชาติ    โดย พ.ต.อ.นพ.ธนา ธุระเจน นายแพทย์ สัญญาบัตร 5 (สบ 5) กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ เปิดเผยถึงการพัฒนานวัตกรรมของเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ (Stem Cell ) จากเลือดเพื่อการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผ่านกล้องวีดิทัศน์ว่า โรงพยาบาลตำรวจได้ทำโครงการวิจัยพัฒนาการรักษาโรคกระดูกอ่อนของข้อเข่าที่มีการบาดเจ็บและข้อเสื่อมระยะต้นมาตั้งแต่ปี 2554 โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ มูลนิธิเวชดุสิต Thai Stem Life Co.Ltd TRB chermedica Co.Ltd และ พล.ต.ท.นพ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ เนื่องจากก่อนหน้านี้การรักษามีค่าใช้จ่ายสูงและมีข้อจำกัดหลายประการ จึงได้คิดค้นโดยการ ใช้เลือดของผู้ป่วยเอง โดยไม่ต้องเจาะจากไขกระดูกเชิงกรานที่สร้างความเจ็บปวด อีกทั้งยังได้จำนวนที่ไม่เพียงพอ และสามารถนำมาปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผ่านกล้องวีดิทัศน์ได้ในครั้งเดียวเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ปกติแล้วกระดูกอ่อนของเรามีปัญหา คือเวลาเสื่อมแล้วต้องรอวันเสียอย่างเดียว ส่วนมากพบในนักกีฬาและผู้ที่นั่งงอเข่านาน ๆ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีการพยายามปลูกกระดูกอ่อนเพื่อนำมาทดแทน […]

โรคข้อเข่าเสื่อม

ประเทศไทย ซึ่งกำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนกว่า 7 ล้านคนและการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าก็ทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่โรคที่ยังพบมากในผู้สูงอายุก็คือโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งการผ่าตัดในผู้สูงอายุแพทย์ยอมรับมีความเสี่ยง แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าก็ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก และการรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัด ทีมแพทย์ต้องบล็อคหลังหรือวางยาสลบขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย แต่หลังจากมีข่าวถึงภาวะแทรกซ้อนลิ่มเลือดแข็งตัวที่ทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุวิตกกังวล. ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ รพ.บำรุงราษฎร์ บอกว่าภาวะแทรกซ้อนเป็นสิ่งที่แพทย์ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องทเกิดขึ้นได้ด้วยด้วยปัจจัยหลายอย่าง  ทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยโดยแพทย์เพิ่งนำมาใช้มาต้นเดือนเมษายน โดยความร่วมมือของสถาบันโรคกระดูกของสหรัฐอเมริกา คือ การใช้เทคโนโลยีแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อและสะโพกเทียมโดยแขนกล จะตัดเฉพาะส่วนกระดูกที่เสื่อมออกผ่านจากภาพ 3 มิติ ทำให้รักษาส่วนกระดูกดีไว้ได้ ผู้ป่วยจะพักฟื้นที่ รพ.เพียง 2 วันและเดินได้ด้วยเครื่องช่วยพยุงภายใน 24 ชั่วโมง  การรักษาด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายเกินหลักแสน วิธีป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรแพทย์แนะนำให้ลดน้ำหนัก งดการสูบบุหรี่ ลดการสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน หรือ ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดจะใช้สุขาแบบนั่งยองมากกว่าชักโครก เพิ่มข้อเข่าเสื่อมไปอีก  สถิติของโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่ามีอายุลดลงตั้งแต่อายุ 30 ปีก็มีมารักษา ส่วนอายุ 45 ปี ขึ้นไปจะพบมากขึ้น โดยคนไทยมีผู้สูงอายุอยู่ที่กว่า 7.8 ล้านคน พบว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 2.6 ล้านคน มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง Ankylosing Spondylitis

ข้อแนะนำ . 1. โรคนี้ในระยะแรกจะมีอาการปวดเหมือนโรคปวดกล้ามเนื้อหลัง , หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ       รากประสาทถูกกด, ข้อเสื่อม , แต่ถ้าพบเป็นเรื้อรังในชายหนุ่ม มักปวดตอนเช้าก่อนตื่นนอน และ       อาการทุเลาหลังบริหารร่างกาย ก็ควรคิดถึงโรคนี้  2. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง ระยะและความรุนแรงของโรค จะแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละคน           ส่วนการรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถร่นระยะเวลาของโรคที่เป็น และไม่อาจป้องกันการติดแข็ง       ของข้อ       ในรายที่เป็นรุนแรง อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยคงสภาพ       การทำงานของร่างกาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้  3. ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้      (1) […]