ข้อเสื่อม

ข้อเสื่อม (Arthrosis, Osteoarthritis; OA)

ข้อเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการสึกของกระดูกอ่อนผิวข้อ มีกระดูกงอกอยู่ที่ขอบข้อ กระดูกผิวข้ออาจลอกหลุด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง มีอาการปวดในข้อ ข้อผิดรูปร่าง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงและรับน้ำหนักไม่ไหว โรคข้อเสื่อมคืออะไร? โรคที่มีความผิดปกติที่กระดูกอ่อนผิวข้อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนผิวข้อทั้งทางด้านรูปร่าง ทางด้านโครงสร้าง ทางด้านชีวะเคมี และทางด้านชีวะพลศาสตร์ กระดูกอ่อนผิวข้อจะบางลง ทำให้การทำงานของกระดูกอ่อนผิวข้อเสียไป เช่น -หน้าที่ในด้านการกระจายแรงที่มาผ่านข้อ เสียไป -หน้าที่ในการให้กระดูกเคลื่อนผ่านกันอย่างนุ่มนวลเสียไป ทำให้เกิดเสียงเวลาเคลื่อนไหว -มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่อยู่ใกล้ข้อ เช่นมีกระดูกงอกออกทางด้านข้างของข้อ (maginal osteophyte) -กระดูกใต้ต่อกระดูกอ่อนมีการหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการต่างๆ ของข้อ เช่น ปวดข้อ ข้อฝืด ข้อแช็ง มีเสียงดังที่ข้อ เวลาที่ข้อมีการเคลื่อนไหว -องศาของการเคลื่อนไหวของข้อลดลง ข้อโตขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะเกิดการพิการตามมา เช่น ข้อหลวม ข้อโก่ง ข้อบิดเบี้ยว รูปร่างของข้อผิดไป สาเหตุของข้อเสื่อมคืออะไร? การเสื่อมของเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็น เปลี่ยนแปลงตามอายุ แต่ผลการศึกษาต่อมาพบว่า อาจเป็นผลมาจากสาเหตุทางพันธุกรรมสาเหตุอื่นๆ ที่อาจมีส่วนร่วมในการ เกิดโรคข้อเสื่อม ได้แก่ การใช้ข้อทำงานมากเกินไป หรือเป็นภายหลังการเกิดข้ออังเสบชนิดอื่นๆ ภาวะอ้วน […]

เปิดผลวิเคราะห์”ยาข้อเสื่อม” มีคุณภาพแต่ต้องเลือก

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการตรวจสอบคุณภาพ "ยากลูโคซามีน" หรือยารักษาอาการข้อเสื่อม ทั้งรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่แนะนำผู้ป่วยข้อเสื่อมพิจารณาเลือกใช้ยี่ห้อและราคาตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยากลูโคซามีน ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่ามีจำนวน 131 ตำรับ จาก 44 บริษัท และมีหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบยาผงละลายน้ำ ยาแคปซูล และยาเม็ด ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2554 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงร่วมมือกับ อย.ดำเนินการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพยากลูโคซามีนจากผู้ผลิตและโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพยาให้แก่ประชาชน จำนวน 90 ตัวอย่าง ทั้งประเภทยาเม็ด ยาแคปซูล และยาผงสำหรับละลายน้ำ โดยพบว่ายาเม็ดขนาดความแรง 500, 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อเม็ด จำนวน 8 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์ทุกตัวอย่าง ยาแคปซูลขนาดความแรง 250 และ […]

โรคข้อเข่าเสื่อม

ประเทศไทย ซึ่งกำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนกว่า 7 ล้านคนและการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าก็ทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่โรคที่ยังพบมากในผู้สูงอายุก็คือโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งการผ่าตัดในผู้สูงอายุแพทย์ยอมรับมีความเสี่ยง แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าก็ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก และการรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัด ทีมแพทย์ต้องบล็อคหลังหรือวางยาสลบขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย แต่หลังจากมีข่าวถึงภาวะแทรกซ้อนลิ่มเลือดแข็งตัวที่ทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุวิตกกังวล. ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ รพ.บำรุงราษฎร์ บอกว่าภาวะแทรกซ้อนเป็นสิ่งที่แพทย์ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องทเกิดขึ้นได้ด้วยด้วยปัจจัยหลายอย่าง  ทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยโดยแพทย์เพิ่งนำมาใช้มาต้นเดือนเมษายน โดยความร่วมมือของสถาบันโรคกระดูกของสหรัฐอเมริกา คือ การใช้เทคโนโลยีแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อและสะโพกเทียมโดยแขนกล จะตัดเฉพาะส่วนกระดูกที่เสื่อมออกผ่านจากภาพ 3 มิติ ทำให้รักษาส่วนกระดูกดีไว้ได้ ผู้ป่วยจะพักฟื้นที่ รพ.เพียง 2 วันและเดินได้ด้วยเครื่องช่วยพยุงภายใน 24 ชั่วโมง  การรักษาด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายเกินหลักแสน วิธีป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรแพทย์แนะนำให้ลดน้ำหนัก งดการสูบบุหรี่ ลดการสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน หรือ ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดจะใช้สุขาแบบนั่งยองมากกว่าชักโครก เพิ่มข้อเข่าเสื่อมไปอีก  สถิติของโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่ามีอายุลดลงตั้งแต่อายุ 30 ปีก็มีมารักษา ส่วนอายุ 45 ปี ขึ้นไปจะพบมากขึ้น โดยคนไทยมีผู้สูงอายุอยู่ที่กว่า 7.8 ล้านคน พบว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 2.6 ล้านคน มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม