กระดูกสันหลังคด

กระดูกสันหลังคดในเด็ก

กระดูกสันหลังคดในเด็ก ถ้าไม่สังเกตก็จะไม่เห็นถึงความผิดปกติ แพทย์สมิติเวชมีคำแนะนำให้กับพ่อแม่ ถึงวิธีสังเกตความผิดปกตินั้น เด็กหญิงสเตซี่ ลูอิส (Stacy Lewis) ชอบเล่นกอล์ฟตั้งแต่เด็ก และใฝ่ฝันที่จะเป็นนักกอล์ฟอาชีพให้ได้ เธอฝึกซ้อมทุกวัน ตอนที่เธออายุ 11 ขวบ พ่อแม่ของเธอค้นพบว่ามีความผิดปกติที่กระดูกสันหลังของเธอ ทำให้ต้องใส่โครงเหล็กดัดหลังวันละกว่า 18 ชั่วโมงทุกวันเป็นเวลา 7 ปีครึ่ง ถอดออกเฉพาะตอนซ้อมกอล์ฟเท่านั้น สเตซี่ ไม่เคยย่อท้อต่อความผิดปกติของร่างกายเธอ เธอเล่นกอล์ฟเก่งมากจนได้ทุนจากมหาวิทยาลัย Arkansas เธอดีใจมาก แต่แล้วความดีใจของเธอก็ถูกกลบด้วย คำวินิจฉัยของแพทย์กระดูกที่บอกว่าความผิดปกติที่กระดูกสันหลังนั้น เกินกว่าการเยียวยาด้วยการใส่โครงเหล็กเสียแล้ว ทางออกเดียวคือการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกตินี้ โดยหมอร้อยเอ็นเข้าที่กระดูกและยึดติดกับสกรู Stacy Lewis ในวันนี้ คือหนึ่งในดาวเด่นของ LPGA และเป็นแรงบันดาลใจของเด็กทั่วโลกอีกหลายๆ คน ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคด ศ.เกียรติคุณ นพ.เจริญ โชติกวณิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์กระดูกสันหลังและข้อ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ให้ข้อมูลว่า ส่วนใหญ่กระดูกสันหลังคดในเด็กเป็นภาวะที่ไม่แสดงอาการให้เห็น คือถ้าไม่สังเกตก็จะไม่เห็นถึงความผิดปกติ โดยเฉพาะไม่ได้เป็นมาก ซึ่งแตกต่างกับเวลาเด็กไม่สบาย ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ จะมีอาการที่ชัดเจน พาไปหาหมออธิบายได้ถูกต้อง […]

10 วิธี ที่คุณทำร้ายกระดูกสันหลังของคุณเอง

กระดูกสันหลังมีความสำคัญต่อบุคลิกภาพ วันนี้เรามี 10 วิธีที่คุณอาจเคยทำและไม่รู้ว่ามันทำร้ายกระดูกสันหลังของคุณมาบอกกัน ลองดูนะคะ 1. การนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด 2. การนั่งหลังงอ หลังค่อม เช่น การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแล็คติก มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา 3. การนั่งกอดอก จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้ 4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะเป็นฐานในการรับน้ำหนักตัว 5. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย 6. การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม การยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อยเพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง 7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง 8. การยกของหนักแบบไม่ย่อเข่า […]

กระดูกสันหลังคดแก้ได้

รศ.นพ.สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด หลายคนสอบถามมาเรื่องกระดูกสันหลังคด ไม่แน่ใจว่าลูกหลานเป็นโรคนี้หรือไม่ มาฟังคำตอบค่ะ โรคกระดูกสันหลังคด หมายถึง การผิดรูปของแนวกระดูกสันหลัง ที่มีการคดออกไปด้านข้าง สาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่ การสร้างและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อ หรือระบบประสาทผิดปกติ เกิดร่วมกับโรคท้าวแสนปม และสาเหตุอื่นๆ อีกหลายประการ แต่ที่พบบ่อยที่สุด ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดทุกชนิด คือ กระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ มักพบในช่วงอายุระหว่าง 10-15 ปี อาการของผู้ป่วย คือ มีแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง ระดับหัวไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน ระดับเอวไม่เท่ากัน ด้านหลังนูน คิดว่าหลังโก่ง ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองจึงมักมาพบแพทย์ด้วยความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง มีส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีอาการปวดหลัง นอกจากการตรวจดูลักษณะที่ผิดรูปแล้ว แพทย์จะตรวจการทำงานของระบบประสาท และส่งตรวจทางรังสีเพื่อการวินิจฉัย ประเมินระดับความรุนแรงของกระดูกสันหลังคด และพิจารณาให้การรักษา ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 แนวทาง คือ การสังเกตอาการ การใส่เสื้อเกราะ และการผ่าตัด การสังเกตอาการ ในกรณีที่มีความคดน้อยกว่า 20-30 องศา แพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการอย่างใกล้ชิดทุก […]