ตอนที่ 87 โครงการตราบใดที่ยังไม่สิ้นหวังของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์



ประกวดเรียงความ ในหัวข้อ “ตราบใดที่ยังไม่สิ้นหวัง” ในโครงการ “สายใยความหวังผู้ป่วย” ของสมาคมพรีม่า

“ความหวัง” คำๆเดียวที่ใครหลายคนอาจให้นิยามต่างกันออกไป  แต่สำหรับบางคน “ความหวัง” คือ
แสงสว่างที่ส่องมาสู่ความมืดสลัวในยามที่ต้องเผชิญกับชะตากรรม
หรืออุปสรรค ชีวิตในรูปแบบต่างๆ รวมถึงยามเจ็บไข้ได้ป่วย
ซึ่งสำหรับพวกเขา “ความหวัง”
เปรียบเสมือนโอสถทิพย์ที่จะช่วยเยียวยาให้
ชีวิตดำเนินต่อไปได้อย่างกล้าหาญ

ตลอดระยะเวลา 39 ปีที่ผ่านมา   สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์  หรือ พรีม่า  มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมยา
เพื่อช่วยให้มนุษย์มี ชีวิตที่ยืนยาวและสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น และเป็น “ความหวัง” ให้กับผู้ป่วยด้วยโรคที่ยังรักษาไม่หาย,
พัฒนาความก้าวหน้าของการผลิตเภสัชอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยใช้หลักเกณฑ์สากล (GMP),
ส่งเสริมให้สมาชิกยึดมั่นมาตรฐานทางจริยธรรมของการทำธุรกิจ
ในระดับสากล, รวบรวม / เผยแพร่ข้อมูล สถิติ และกฏเกณฑ์
ระเบียบการต่างๆ และ จัดสัมมนา บรรยาย และฝึกอบรมร่วมกับภาครัฐ สถาบันการศึกษา
และภาคเอกชนและสื่อมวลชนต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ  

สมาคมพรีม่า จึงขอเชิญชวนประชาชนที่เป็น
หรือเคยเป็นผู้ป่วยที่พิชิตโรคร้ายมา
ร่วม แบ่งปัน ความหวังและกำลังใจให้กับผู้ป่วยที่กำลังเผชิญกับโรคร้าย โดยการถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตจริงของตนเอง ส่งเป็นบทความประกวดเรียงความ 
ในหัวข้อ “ตราบใดที่ยังไม่สิ้นหวัง” ในโครงการ “สายใยความหวังผู้ป่วย
หัวข้อเรียงความ
“ตราบใดที่ยังไม่สิ้นหวัง”
คุณสมบัติผู้ส่งเรียงความ
บุคคลทั่วไปที่เคยมีประสบการณ์ในฐานะผู้ป่วยมาแล้วทั้งในอดีต
และปัจจุบัน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดเรียงความ
•    เรียงความที่ส่งเข้าประกวดต้องสอดคล้องกับหัวข้อ“ตราบใดที่ยังไม่สิ้นหวัง” ต้องเป็นความจริง และสามารถตรวจสอบได้
•    เป็นเรียงความที่เขียนขึ้นเอง ไม่คัดลอกหรือดัดแปลงผลงานของผู้อื่น และไม่เคยนำไปเผยแพร่หรือประกวดที่ใดมาก่อน
•    มีความยาวไม่น้อยกว่า 1 หน้า และไม่เกิน 2 หน้า บนกระดาษสีขาว A4 
•    ผู้ส่งเรียงความเข้าประกวด สามารถส่งผลงานได้คนละ 1 ชิ้นเท่านั้น
•    ผู้ส่งผลงานต้องสามารถเผยแพร่ประสบการณ์ของตนตามที่บรรยาย
ในเรียงความผ่านกิจกรรมเผยแพร่สู่ประชาชน
•    การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินการประกวดเรียงความถือเป็นที่สุด
•    ผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลถือเป็นสิทธิของสมาคมผู้วิจัย
และผลิตเภสัชภัณฑ์
•    ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวด ขอสงวนสิทธิ์ในการส่งคืน
เกณฑ์การตัดสินรางวัล
•    ความน่าสนใจเนื้อหาในการนำเสนอ                          25 คะแนน
•    รูปแบบและการเรียบเรียง                                         25 คะแนน
•    อรรถรส                                                                 25 คะแนน
•    การใช้ถ้อยคำ สำนวน การใช้ภาษาที่ถูกต้อง และความสวยงามของภาษา    25 คะแนน
                                                                              รวม   100 คะแนน
•    พิธีมอบรางวัลโดย พญ.กิติมา ยุทธวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2552
งานสัมมนาของสมาคมยา Prema ที่ชาแลนเจอร์ เมืองทองธานี

มีผู้ส่งกว่า 50 บทความ และมีผู้ได้รับรางวัล 15 รางวัล
บทความที่ได้ที่ 1 เป็นเรื่องของผู้ป่วยโรคหัวใจรั่วแต่กำเนิด
รองลงมาเป็นเรื่องของมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ระยะสุดท้าย โรคซึมเศร้า   โดยมาร่วมอภิปรายสาระการบรรยายก็คือ
พิธีกร มี คุญอี้ แทนคุณ จิตอิสระ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ระยะสุดท้าย เนื้อหาได้กแก่
1.ตั้งสติ
2.สร้างพลังให้มั่น
3.อยู่อย่างมีความหวัง.
นอกจากนี้ยังมีการตรวจวัดความดัน น้ำหนัก เจาะเลือดหาเบาหวาน
มีอาหารว่างเช้าบ่าย เที่ยงทานปุฟเฟย์
กระเป๋าผ้า เสื้อยืด แก้ว เกมส์
ได้เสนอประกวดบทความเกี่ยวกับสุขภาพดังนี้
                                                   “”
                         ผมเป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคไขกระดูกสันหลังอักเสบ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังมี   
ความคล้ายโรคภูมิแพ้ที่สาเหตุไม่ชัดเจน
โดยเกิดจากจากพันธุกรรมและอื่นๆ
ผลของโรคก่อให้เกิดอักเสบตามข้อทั่วร่างกาย
ทำให้ข้อต่อเกิดการค่อยๆ
เชื่อมยึดติดอย่างถาวรทำให้ไม่สามารถขยับข้อได้ 
ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามข้อต่างๆทั่วร่างกายโดยเฉพาะที่หลัง
                         นอกจากนี้โรคนี้ยังใช้เวลานานในการวินิจฉัยโรค
โดยอาศัยใช้องค์ประกอบหลายด้าน เช่น อาการที่ปวดหลังนานๆ
ฟิล์มเอ็กซเรย์ ผลทางแล็ป และผู้เชี่ยวชาญ 
ตลอดจนการรักษาก็ยังเป็น
แค่การทานยาบรรเทาอาการปวดและอักเสบที่เกิดขึ้น
และก่อนได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้นี้ก็เคยใช้ยาพาราเซตามอล
เพื่อแก้ปวดติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายปี
โดยไม่รู้ว่ามีผลเสียในการใช้ยานี้หากทานยาติดต่อกันเกินเป็นเดือน
     ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาระค่ารักษาพยาบาล
และค่ายาในการดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก
มีบางท่านต้องออกจากงานประจำ เสียโอกาสในด้านต่างๆ
ก็ให้เกิดความสูญเสียทั้งร่างกายและจิตใจในทุกๆด้าน
           ในอดีตเริ่มต้นการดูแลตนเองจากคำสอนของพระพุทธศาสนา
ในเรื่อง
ทุกข์เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 คือความจริงอย่างประเสริฐ
เป็นการรักษาจิตใจในบทแรกและปฏิบัติตามคำสั่งสอนต่อๆมา
                        ต่อจากนั้นโดยที่เป็นโรคเรื้อรังก็
ทำให้มีเวลาศึกษาทางเลือกที่น่าสนใจคือ
การออกกำลังโดยเริ่มต้นศึกษาการออกกำลังหลายๆประเภท
ซึ่งบางอย่างก่อให้เกิดสุขภาพแข็งแรง คล่องตัว สดชื่นดีขึ้น
แล้วเลือกแบบที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายคือ
การอบอุ่นร่างกาย  ขี่จักยาน  แอโรบิก โยคะ ยกน้ำหนัก โยคะ
การยืด การเคาะร่างกาย  การนวดไทย ไทเก๊ก ชี่กง จั้นกง อย่างต่อเนื่อง
จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ใช้เวลานานหลายชั่วโมงในแต่ละครั้ง
        โดยหลักการเลือกจะเลือกการออกกำลังในท่าที่พอจะทำได้อย่างต่อเนื่อง
จัดร่างกายให้อยู่ในท่าตรง ไม่เลือกท่าที่ยากหรือฝืนร่างกายมากจนเกินไป
โดยระวังอย่าให้เกิดการบาดเจ็บ  เน้นออกกำลังในที่สาธารณะเช้า เย็น ทุกวัน
โดยที่ยังสามารถทำคู่กับงานประจำ
และ นอกจากนี้ยังรวมถึงการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
และรวมถึงเพิ่มการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและจิตใจ
                    และผลดีจากการดูแลดังกล่าวส่งผลให้อาการปวดหลังลดลงและหายไป
การทานยาก็ลดลงและได้หยุดไป มีโอกาสที่ดี ขึ้นในทุกๆด้านของชีวิต
แต่ช่วงนี้ก็มีอาการเพิ่มขึ้นโดยมีอาการขัดยอกน้อยๆที่เข่าขวา
ได้ดูแลด้วยการลดการออกกำลังลงครึ่งหนึ่ง
และทานยาแก้ปวดและลดการอักเสบติดต่อกันอีก 2 สัปดาห์
ตามคำสั่งแพทย์และรอนัดอีกครั้ง
                    การดูแลร่างกายเพิ่มนี้ก็ได้รับแนวความคิดมาจาก
คำสอนของศาสนาพุทธเรื่องทางสายกลาง ซึ่งเกี่ยวกับซอสามสาย
หากเราขึงสายซอตรึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป
เมื่อสีซอแล้วเสียงจะไม่ไพเราะ หากขึงสายตรึงพอดีเวลาสีก็จะเกิดเสียงไพเราะ
ซึ่งพออนุมานได้กับชีวิตของคนเราซึ่งประกอบด้วย ร่างกาย และจิตใจ
ซึ่งเต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย
หากเรามีการดูแลตัวเองที่เหมาะสม ครอบคลุมในทุกๆด้านแล้ว
ย่อมมีโอกาสที่ร่างกายจะมีสุขภาพดีและแข็งแรงขึ้น