โรคนับร้อยมีที่มาจากอารมณ์
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 226 เดือน-ปี :02/2541
นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล
ใน ทัศนะแพทย์แผนจีนได้เชื่อมโยงผลกระทบของร่างกายทั้งอวัยวะตันภายในทั้ง ๕ (หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต) อวัยวะกลวงภายในทั้ง ๖ (กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ซานเจียว) เส้นลดปราณที่สัมพันธ์กับอารมณ์และสิ่งกระตุ้นทั้งมวลอย่างแนบแน่น ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือเรื่องของอารมณ์ทั้ง ๗ กับการเกิดโรค
คำกล่าว ที่ว่า “โรคนับร้อยมีที่มาจากอารมณ์” สะท้านถึงบทบาทของอารมณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคต่างๆ มากมาย รวมทั้งโรคมะเร็ง มีรายงานทางการแพทย์ พบว่า คนไข้ ๑๐๐ คน มีภาวะความเครียดทางจิตใจร่วมอยู่ด้วยถึง ๗๖ คน และในผู้ป่วยมะเร็งพบว่าก่อนจะมีอาการมะเร็งปรากฏมักจะมีภาวะความเคร่ง เครียด แปรปรวนทางอารมณ์อย่างรุนแรงมาก่อนร้อยละ ๖๒.๕
การปล่อยให้จิตใจ ว้าวุ่นตลอดเวลา ย่อมทำให้สุขภาพเสื่อมทรุด อายุไม่ยืนยาว จึงจำเป็นต้องหาวิธีขจัดความไม่สบายใจ มีข้อแนะนำง่ายๆ ดังนี้
๑. สนใจความทุกข์ของคนอื่น
ขณะ ที่มีความทุกข์ ไม่สบายใจ จะต้องไปเห็นถึงความทุกข์ของคนที่ทุกข์กว่าเรา จะได้รับรู้ว่าคนอื่นก็มีความทุกข์เหมือนกัน ความทุกข์ในตัวก็จะลดลงไปด้วย
๒. เยี่ยมเยียนเพื่อนที่ป่วยไข้ไม่ควรเก็บตัวเงียบอยู่ในห้อง
การไปเยี่ยมคนไข้ไม่ว่าที่บ้าน หรือที่โรงพยาบาล หลังจากเยี่ยมไข้เราจะรู้สึกว่า ตัวเรายังโชคดีที่ไม่ป่วยไข้ ทุกข์ในใจก็จะผ่อนลงได้
๓. ออกกำลังกาย ใช้แรงงาน
การ ออกกำลังกายและการใช้แรงงานเป็นการแปรเปลี่ยนความทุกข์ในใจ และปลดปล่อยพลังที่เก็บกดได้ การเปิดหูเปิดตาไม่มองโลกธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ทำให้จิตใจที่หดหู่หมกมุ่นถูก แทนที่ด้วยโลกกว้าง
๔. หมั่นอาบน้ำบ่อยๆ
การอาบน้ำบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำร้อนหรือน้ำเย็น จะกระตุ้นสมอง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทำให้กระปรี้กระเปร่า ลดความเครียด
๕. ต้องพบปะเพื่อนฝูง
พูด คุยปรับทุกข์ ระบายความทุกข์กับเพื่อนสนิท นอกจากจะผ่อนคลายอาการอัดอั้นตันใจแล้ว บางทีอาจจะได้ข้อคิดดีๆ ในการแก้ความไม่สบายใจด้วย
ความจริงการฝึกจิตใจและการปล่อยวางทั้งร่าง กาย จิตใจ เป็นภูมิปัญญาทางตะวันออกที่มีความละเอียดลึกซึ้ง และได้รับการยอมรับและพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น การฝึกจิตสามารถปรับควบคุมอารมณ์จิตใจ และปรับสมดุลร่างกาย ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมและการทำงานของอวัยวะภายในเป็นปกติ เช่น การฝึกลมปราณชี่กง การฝึกรำมวยจีนไทเก๊ก เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานในการต่อสู้กับโรคด้วย
อารมณ์ทั้ง ๗ สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอวัยวะภายในและการไหลเวียนของเลือดและพลังในเส้นลม ปราณทั่วร่างกาย ในทำนองกลับกันถ้ามีโรคที่เกิดกับอวัยวะภายในหรือเส้นลมปราณจะส่งผลให้ผู้ ป่วยมีอารมณ์แปรปรวนต่างๆ กันออกไป การรักษาร่างกายและจิตใจจึงเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กันตลอดเวลา เราแบ่งผู้ป่วยเป็นโรคทางกายและโรคทางจิต แต่เราไม่สามารถแยกภาวะกายและจิตออกจากกันในตัวผู้ป่วยได้อย่างสิ้นเชิง