คนเรานี้ช่างเปราะบาง นอนไม่หลับมากๆ ตายเอาได้ง่ายๆ เชื่อหรือไม่? การนอนหลับต้องหลับอย่างมีคุณภาพ… ถ้าไม่มีคุณภาพ อันตรายถึงชีวิต
อาการนอนไม่หลับ เรียกตามภาษาทางวิชาการคือ "Insomnia" กล่าวโดยง่าย หมายถึงจำพวกนอนหลับยาก หลับๆ ตื่นๆ สะดุ้งโหยง ตื่นมาแล้วรู้สึกนอนไม่อิ่ม อ่อนเพลีย เผละผละตลอดทั้งวัน ปัญหาการนอนไม่หลับ เกิดขึ้นประมาณ 3040% ของประชากร ในจำนวนนี้มี 10% ที่เรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ หนึ่งคือ นอนไม่หลับเป็นบางครั้ง (Transient Insomnia) อีกหนึ่งคือ นอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic Insomnia)
สาเหตุของการนอนไม่หลับเป็นบางครั้ง เกี่ยวพันกับอารมณ์และความเครียด บ้างเชื่อมโยงกับการเจ็บป่วยทางกาย หรือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม สำหรับการนอนไม่หลับเรื้อรัง คือการนอนไม่หลับแม้ว่าเหตุข้างต้นจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม ส่งผลกระทบต่อการแสดงออกทางจิตใจ เรียกว่า Psychophysiological Insomnia เบื้องต้นผู้ป่วยจะมีความกังวลหรือครุ่นคิดตลอดเวลาว่าคืนนี้จะนอนหลับได้หรือไม่ ยิ่งเวลานอนใกล้เข้ามาก็จะยิ่งกลัวและหวาดวิตกเกี่ยวกับการนอนมากขึ้น เมื่อเข้านอนก็มีความพยายามอย่างมากที่จะนอนหลับให้ได้ ทำให้มีภาวะ HyperArousal ซึ่งทำให้ความสามารถที่จะนอนหลับลดลง
“ทุกคนจำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการนอนหลับให้สนิท และต้องเข้าใจว่าการนอนหลับมีความสำคัญเหลือเกินต่อสุขภาพของคนเรา” วิลเลี่ยม เดอเมนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด บอกไว้เช่นนี้
ความต้องการในการนอนหลับของคนมีไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอายุ ทารกต้องนอนละวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 78 ชั่วโมง แต่บางคนอาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง
สัญญาณเตือนที่ทำให้ทราบได้ว่านอนไม่พออาจสังเกตได้จากอาการต่างๆ ได้แก่ อาการง่วงซึมตลอดทั้งวัน อารมณ์แกว่งโกรธง่ายโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอกับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน หลับภายใน 5 นาทีหลังจากนอน และอาจจะหลับขณะตื่นโดยที่ไม่รู้ตัว หรือเข้าทำนองหลับใน
อาการนอนไม่หลับ คือหนึ่งในอาการของ “การนอนหลับผิดปกติ” นอกจากนี้ยังรวมถึงการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจ หากไม่ได้รับการรักษาอาการดังกล่าวสามารถพัฒนาไปสู่โรคอื่นๆ ข้อมูลประเทศไทย พบว่า เพศชายราว 60% มีอาการนอนกรน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน ส่วนเพศหญิงมีประมาณ 30% ส่วนมากอยู่ในวัยหมดประจำเดือน
แม้ว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับจะมีมากมาย แต่โรคที่พบเห็นได้บ่อยครั้งคือ “โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น” ซึ่งพบประมาณ 11.4% โดยมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ระหว่างการนอนหลับ เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจระหว่างหลับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการหายใจและพัฒนาเป็นโรคอื่นๆ ที่รุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิต
แนวทางแก้ไข คือ
1.พยายามเข้านอนเวลาเดียวกันทุกคืน และตื่นในเวลาเดียวกันทุกเช้า
2. หลีกเลี่ยงกาเฟอีน นิโคติน และแอลกอฮอล์
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
4. อย่ารับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอน
5. ปรับปรุงห้องนอนให้ชวนนอน
6. ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายก่อนเข้านอน
7. หลีกเลี่ยงการใช้เตียงเพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกเหนือจากการนอนหลับและเซ็กซ์
8. ถ้าคุณนอนไม่หลับไม่รู้สึกง่วง อย่าเสียเวลานอนพลิกไปพลิกมาอยู่บนเตียง ลุกขึ้นมาอ่านหนังสือหรือทำอย่างอื่นที่ไม่ต้องใช้แรงงานมากนัก จนกว่าคุณจะเริ่มตาปรือ
9. ลดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องโน้นเรื่องนี้
10. หากมีอาการหลับผิดปกติ ให้พบแพทย์เพื่อรักษา เช่น ยา ผ่าตัด ฯลฯ