บริหารต้นคอ บรรเทาปวดออฟฟิศซินโดรม

acghloprs578

ทุกครั้งที่มนุษย์เคลื่อนไหว ต้องใช้กำลังกล้ามเนื้อในการหดตัวและคลายตัว เพื่อที่จะดึงให้กระดูกส่วนนั้นเคลื่อนไหวตามไปด้วย และในการทำงานที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวติดต่อกันเป็นระยะนานๆ อย่างการดูคอมพิวเตอร์  กล้ามเนื้อส่วนบริเวณคอจะเกิดอาการอักเสบทีละเล็กน้อย มีอาการเหมือนคนนอนตกหมอน คอเคล็ด  เมื่อปล่อยไว้ไม่ได้หาทางแก้ไขที่ต้นเหตุ ก็มักจะมีอาการรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นที่เรียกว่า เกิดภาวะกล้ามเนื้อต้นคอล้มเหลว นั้นคือ จะนั่งทำงานชูคอต่อไปไม่ได้ แล้วปวดจนไม่ไหวอาจมีอาการปวดหัว คลื่นไส้เป็นไมเกรนตามมา

สังเกตอาการโรคกล้ามเนื้อต้นคอล้มเหลวมีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะ

1. ระยะที่โรคจำกัดอยู่ที่การอักเสบของกล้ามเนื้อ ปวดสะบัก นั่งดูคอมพิวเตอร์นานไม่ได้ ตัวรุมเหมือนมีไข้ ระยะนี้คนไข้จะติดการนวด การดัดคอเหมือนเป็นการซื้อเวลาผ่อนคลายชั่วคราว ไม่ได้หายจากโรคนี้จริง

2. ระยะกระดูกคอเคลื่อน

เมื่อคนเราปวดเมื่อยคอเป็นระยะเวลาหลายปี เวลาไปเอ็กซเรย์ก็อาจจะเริ่มเห็นหินปูนไปเกาะตามส่วนต่างๆ ของข้อต่อกระดูกคอ หินปูนที่เกิดขึ้นจะสะสมมากขึ้นอยู่ในข้อ ทำให้การเคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก

3. ระยะเส้นประสาทคอถูกกดทับ

เมื่อช่วงรางของไขประสาทส่วนคอตีบแคบลง จากการที่มีหินปูนมาเกาะที่กระดูกส่วนคอมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราการไหลเวียนของกระเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยงเส้นประสาทจะลดลง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดร้าวลงแขน แขนชา มือชา อาการปวดที่แขนจะรุนแรงกว่าปวดคอหลายเท่าบางครั้งผู้ป่วยจะบอกว่าเหมือนกล้ามเนื้อถูกฉีกเมื่อปล่อยให้เซลล์ประสาทถูกทำลายลงเรื่อยๆ กล้ามเนื้อบริเวณส่วนแขน สะบังย้อนขึ้นไปที่คอก็จะลีบแขน และมือไม่มีแรง สุดท้ายเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น

เพราะสังคมไทยปัจจุบันเป็นสังคมที่รีบเร่ง ทำให้คนเราโดยเฉพาะคนหนุ่มสาววัยทำงาน ไม่มีเวลาที่จะดูและสุขภาพของตนเอง ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายบริหารให้กล้ามเนื้อต้นคอ แข็งแรง ได้แต่ใช้ไปวันๆ เพราะถ้าเราไม่สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงสม่ำเสมอ และงานที่ทำไม่ได้เคลื่อนไหวคอติดต่อเป็นเวลานานๆ ภาวะกล้ามเนื้อล้มเหลวก็จะตามมาเยือน

การบริหารกล้ามเนื้อส่วนคอและสะบักหลัง (Active Training Exercise of Trapezius Muscle)

การบริหารร่างกายของคนเรานั้น มีหลายแบบขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่เราต้องการ บางคนวิ่งออกกำลังกายเพื่อให้หัวใจและปอดแข็งแรง หรือต้องการลดน้ำหนัก มีการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันนัก  แต่สามารถจะทำให้กล้ามเนื้อที่อ่อนแอมานานฟื้นกลับขึ้นมาแข็งแรงได้เราเรียกการบริหารชนิดนี้ว่า Active Training Exercise

ข้อดีสำหรับการบริหารแบบนี้

1. ทำให้กล้ามเนื้อกลับมาแข็งแรง ได้อย่างรวดเร็ว

2. ทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อขยายตัว ไม่มีการฉีกขาด โอกาสเกิดการบาดเจ็บระหว่างการบริหารชนิดนี้จึงมีน้อยมากถ้าทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด

3. กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงอย่างยั่งยืน

4. ใช้เวลาในการบริหารไม่นาน

5. ไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษมากมาย

6. ใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะการบริหารมีความยืดหยุ่น สามารถบริหารตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละคนได้

คนที่เหมาะสมจะทำ การบริหารแบบ Active Training Exercise

1. คนที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแอมานาน เช่น คนที่ไม่ค่อยออกกำลังหรือ ไม่ได้เล่นกีฬา (มากกว่า 2 สัปดาห์) คนสูงอายุที่มีเส้นใยกล้ามเนื้อลีบเล็กตามวัย

2. คนกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง มีพังผืดเกิดขึ้นตามจุดต่างๆ โดยจะต้องมีการพักฟื้น หรือรักษาการอักเสบให้ดีขึ้นมาในระดับหนึ่งก่อน

3. คนที่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย แต่กังวลเรื่องของการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแอ หรือข้อเสื่อมก่อนวัย

รูปแบบหรือวิธีการทำที่ต้องทำตามทุกข้อจึงจะได้ผลตามที่กล่าวมาแล้ว

1. ต้องทำทุกวันและทำตรงเวลา เพราะเราต้องการฝึกให้กล้ามเนื้อเกิดความเคยชินต่อแรงต้านที่จะค่อยๆ เพิ่มทีละนิดละน้อย โดยร่างกายไม่รู้ตัวการทำตรงเวลาและทำทุกวันจะทำให้กล้ามเนื้อกลับมาแข็งแรงเร็วกว่า

2. ต้องมีการเพิ่มน้ำหนัก หรือ Stress ที่กล้ามเนื้อต้องออกแรงต้านทีละเล็กน้อยต่อระยะเวลา 5-7 วัน สำหรับคนที่กล้ามเนื้ออ่อนแอมาก ห้ามใจร้อนเพิ่มน้ำหนักก่อนที่กล้ามเนื้อจะแข็งแรง

3. ต้องทำให้ถูกท่า หรือจัดท่าในการบริหารอย่างถูกต้องเพื่อลดแรงกระเทือนที่ข้อต่อ และสามารถบริหารกล้ามเนื้อถูกมัด โดยไม่ควรมีการใช้กล้ามเนื้อมัดอื่น มาช่วยร่วมออกแรงด้วยโดยไม่จะเป็น

 

adhmnqswxy19

ท่าบริหารกล้ามเนื้อส่วน Trapezius Muscle

กล้ามเนื้อมัดนี้จะเกาะที่กระดูกส่วนคอ สะบักหลัง และกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ในการค้ำศีรษะไม่ให้เอียงไปด้านหลัง เวลาที่เราต้องใช้งานเกี่ยวกับคอ  ต้องจำไว้ก่อนที่จะบริหารทุกครั้งกล้ามเนื้อต้องไม่มีการอักเสบ หรืออักเสบน้อยมาก ถ้ากล้ามเนื้อยังอักเสบอยู่มากทำไม่ได้เพราะจะปวดมากขึ้น

1. ถือลูกตุ้มน้ำหนักโดยเริ่มจากน้ำหนักน้อยๆ ข้างละ 1-2 กก. โดยยืนหันหน้าเข้าหากระจกและทำท่ายักหรือยกหัวไหล่ขึ้น ทำให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และค่อยๆ ปล่อยหัวไหล่ลงให้ต่ำที่สุด ถือว่าเราทำได้ 1 ครั้งให้ทำติดต่อกัน 10 ครั้งโดยไม่พัก

2. หลังจากทำครบ 10 ครั้ง หรือ 1 เซ็ท แล้วก็พักประมาณ 10-15 วินาทีหรือพอหายเมื่อยก็ทำต่อ

3. ทำซ้ำๆ จนครบ 10 เซ็ท เป็นการจบการบริหารกล้ามเนื้อต้นคอและสะบังหลังในวันนั้น

เมื่อทำครบ 1 สัปดาห์จึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักที่ถือไว้ที่มือทั้งสองข้างทีละเล็กน้อย โดยเพิ่มน้ำหนักในแต่ละสัปดาห์ เช่น เพิ่มขึ้นเป็นข้างล่ะ 2 กก. สัปดาห์ที่ 3 เพิ่มขึ้นเป็น 3 กก. เป็นต้น

ที่มา : เว็บไซต์สำนักข่าวไทย
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

และ สสส