โรคปวดข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis; R.A.)
ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกิดจากร่างกายสร้างภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตัวเอง พบในเพศหญิงมากกว่าชาย 4-5 เท่า พบมากในช่วง 20-50 ปี
อาการ
เริ่มปวดจากข้อเล็กๆ ก่อน เช่น ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า โดยมีลักษณะจำเพาะเจาะจง คือ ปวดข้อตรงกันพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ทั้งซ้ายและขวา มีอาการบวมแดงร้อนที่ข้อ ต่อมาการอักเสบจะลุกลามไปทั่วทุกข้อทั่วร่างกาย ถ้าเป็นนานๆ จะทำให้เกิดอาการปวดข้อ ข้อแข็ง ขยับลำยาก มักจะเป็นมากเวลาอากาศหนาวเย็น หรือในตอนเช้า พอสายๆ อาการจะทุเลาลง ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้พิการได
การตรวจ
ต้องตรวจหาค่าทางห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้สำหรับการวินิจฉัย ร่วมกับการวินิจฉัย R.A. อาศัยหลักเกณฑ์ของ American Rheumatism Association หากพบอาการ 4 ใน 7 ข้อ ถือว่าเป็นรูมาตอยด์ ดังนี้
- มักฝืดตึงข้อในช่วงเช้า
- มักปวดข้อมากกว่า 3 ข้อ และปวดอย่างต่อเนื่อง
- มักปวดข้อมือ ข้อโคนนิ้ว ข้อกลางนิ้ว
- ปวดข้อ 2 ข้างพร้อมกัน
- พบตุ่มที่ใต้ผิวหนัง
- ตรวจผลเลือด
- ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อจากภาพถ่ายเอ็กซเรย์
การรักษา และข้อปฏิบัติตัว
- – หากเกิดข้อสงสัยให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจเลือดหาค่า ESR และเอ็กซ์เรย์เพื่อหาความผิดปกติของกระดูก
- – รับประทานยาแก้ปวด ลดอาการอักเสบ กลุ่ม NSIADs ควบคู่กับยาในกลุ่ม DMARDs (ปรึกษาเรื่องการใช้ยาจากเภสัชกร)
- – พยายามเคลื่อนไหว ฝึกกายบริหารทุกวัน อย่าหยุดนิ่งจะทำให้ข้อยึด และขยับยากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
- Goodman and Gilman’s the Pharmacological Basis of Therapeutics 9th ed. New York: Mc Graw Hill, 1996: 601-634
- สมเฮง นรเศรษฐีกุล ตำรายาและโรค พิมพ์ครั้งที่ 4 2532: 77-95
- นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ตำรายาและโรค พิมพ์ครั้งที่ 4 2532: 77-95
- นพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2544 : 454-463
[notification type=”alert-info” close=”false” ]
ที่มาจาก
https://www.facebook.com/chernphimai-pharmacy
[/notification]